เคล็ดลับ GOOGLE MAPS : เรื่องของการ SHARE ตำแหน่งและเส้นทาง

เรื่องเบา ๆ ในวันเบา ๆ … ArthitOnline Blog ขอนำเสนอวิธีการ Share ตำแหน่งและเส้นทางให้กับคุณผู้อ่าน ผู้เขียนเองใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้อยู่บ่อย คิดว่าถ้าคุณผู้อ่านที่ยังไม่รู้จักฟีเจอร์นี้ได้มีโอกาสทดลองใช้ ก็น่าจะมีประโยชน์เช่นกัน สรุปสั้น ๆ ตามสไตล์ ArthitOnline Blog ดังนี้ครับ

1. ส่งเส้นทางจาก Desktop ไปที่ Mobility Device

gmaps-send-direction

บางทีการค้นคว้าหรือค้นหาสถานที่บน Desktop ทำได้สะดวกกว่าใช้แอปบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก ทีนี้เมื่อค้นหาสถานที่บน Desktop เจอแล้ว แทนที่จะต้องไปค้นหาบน Mobility Device ซ้ำอีกที ก็ใช้วิธีส่งผลการค้นหาไปเลย แล้วก็ไปเปิดดูที่โทรศัพท์มือถือหรือ Tablet ได้เลย มีขั้นตอนง่าย ๆ ตามนี้ครับ

  1. บน Desktopไปที่ Google Maps on the web
  2. ค้นหาสถานที่ด้วย ที่อยู่ หรือ ชื่อสถานที่ จากกล่องค้นหา
  3. ผลการค้นจะแสดงข้อมูลสถานที่ในลักษณะ card ใต้กล่องค้นหา
  4. คลิกที่ปุ่ม Send to device และเลือกอุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูล
  5. จะมี pop up ขึ้นที่อุปกรณ์ที่เลือกส่งข้อมูลไปครับ สามารถเปิดดูจากแอป Google Maps ได้เลย

2. Share ตำแหน่ง

gmaps-share-location

กรณีที่คุณผู้อ่านต้องส่งตำแหน่งปัจจุบันของตัวเองไปยังบุคคลอื่นด้วย จะด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ตามมาหาถูกที่ หรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็แล้วแต่ แอป google maps มีฟีเจอร์การ share ตำแหน่ง ตอบสนองความต้องการใช้งานในลักษณะนี้ได้ครับ

  1. เปิดแอป Google Maps
  2. แตะจุดน้ำเงิน เพื่อให้แอปไปที่ตำแหน่งปัจจุบันของคุณ
  3. แตะจุดน้ำเงินตำแหน่งของคุณ จะมี card ข้อมูลด้านล่าง ปัดขึ้นเพื่อเปิดดูรายละเอียด card
  4. แตะที่ SHARE และเลือกแอปที่จะ Share ไป

3. Share เส้นทาง

gmaps-share-direction

ไม่รู้จะอธิบายเส้นทางเพื่อนคุณได้อย่างไร ส่งไปให้ดูเสียเลย

  1. เปิดแอป Google Maps สร้างเส้นทาง
  2. เลือกเส้นทาง ด้วยการแตะที่เส้นที่จะเลือกหน้าจอ (อย่าแตะที่ START NAVIGATION นะครับ)
  3. ในหน้าเส้นทาง (route page) ให้แต่ที่ไอค่อน three-dot menu มุมบนขวา
  4. แตะที่ Share directions และเลือกแอปที่จะ Share ไป

Credit : ArthitOnline Blog

แผนที่อัปเดตภาพ GOOGLE EARTH เดือนพฤษภาคม 2558

ge-update-may-2015

Google เผยแพร่แผนที่แสดงการอัปเดตภาพบน Google Earth ประจำเดือนพฤษภาคม 2558 ผ่าน Google Map Gallery แล้วครับ สนใจเข้าไปดูได้ที่ Map May15 Update สำหรับในประเทศไทยมีอัปเดตไม่มากนักกระจายทั่วประเทศ

ge-update-may-2015-1

ผู้เขียนเตรียม KML ให้ Download ได้ที่ลิงก์นี้ครับ Map May 2015

ที่มา ArthitOnline Blog

ระบบการวัดระยะของ_Terrestrial_Laser_Scanner‬

ที่มา Vichai Yiengveerachon

เครื่อง Terrestrial Laser Scanner ที่ใช้กันโดยทั่วไปจะมีระบบการวัดระยะทาง 2 แบบ คือ วัดด้วยวิธีการจับเวลาการเดินทางของแสงเลเซอร์ที่เรียกว่า Time Of Flight Method (ToF) และวิธีการวัดเฟสที่เรียกว่า Phase Measurement (Pm) ทั้งสองระบบมีคุณสมบัติในการทำงานแตกต่างกัน คือ

ToF จะวัดระยะหรือสแกนวัตถุที่อยู่ไกลได้ถึงประมาณ 1000 เมตร โดยให้ความคลาดเคลื่อนในการวัดระยะมากกว่า 10 cm.

Pm จะวัดระยะหรือสแกนวัตถุที่อยู่ใกล้ไม่เกิน 100 เมตร โดยให้ความคลาดเคลื่อนในการวัดระยะน้อยกว่า 10 cm.

Vichai Yiengveerachon's photo.

ESRI MAP – ภาพก่อนและหลังแผ่นดินไหวที่เนปาล

esri-map-pre-post-earthquake-nepal

Esri เผยแพร่ภาพเปรียบเทียบก่อนและหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในเนปาล ในลักษณะของ swipe map ที่ผู้ใช้สามารถเลื่อนแถบแนวตั้งเพื่อเลือกดูเปรียบเทียบสภาพก่อนและหลังได้ โดยฝั่งซ้ายเป็นภาพก่อนเหตุการณ์ ฝั่งขวาเป็นภาพหลังเหตุการณ์ สนใจเข้าไปดูได้ที่ Nepal 2015 Earthquake Swipe Map

ArthitOnline Blog เคยนำเสนอเครื่องมือแบบเดียวกันนี้จาก Esri ไปแล้วในบทความชื่อ ESRI MAP โชว์เทพ – 2004 TSUNAMI : THEN AND NOW

ในเหตุการณ์วิบัติภัยครั้งใหญ่ที่ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ผู้เขียนมั่นใจว่า Esri น่าจะนำเสนอข้อมูลในลักษณะนี้ออกมาอีกอย่างแน่นอน ท่านใดสนใจการใช้ประโยชน์ map online โดย Esri ในลักษณะนี้ติดตามข้อมูลผ่าน ArthitOnline Blog ได้เลยครับ ^_^ #Pray4Nepal

ที่มา ArthitOnline.me

วิธีทดสอบกล้องระดับอัตโนมัติ

ที่มา Viichat Yiengveerachon

กล้องระดับอัตโนมัติ มีระบบช่วยในการรักษาแนวเล็งให้อยู่ในแนวราบ เพียงแค่ตั้งระดับฟองกลม และระบบชดเชยความเอียงกล้อง (compensator) จะทำงานให้แนวเล็งอยู่ในแนวราบ แล้วจะรู้ได้อย่างไรมันทำงานเป็นปกติ

มาทดสอบกันแบบว่าชัวร์ๆ ว่ามันทำงาน ด้วยขั้นตอน คือ
1 เมื่อตั้งกล้องเสร็จแล้วให้อ่านไม้ระดับ เช่น ได้ 1.656
2 ใช้นิ้วชี้กดที่ปลายด้านกล้องโทรทัศน์ค้างไว้ หากมองในกล้องจะเห็นว่าค่าไม้ระดับจะลดลงและจะกลับที่ค่า 1.656 เป๊ะ
3 ปล่อยมือ จะเห็นค่าระดับกล้องเพิ่มขึ้นและลดลงกลับมาที่ค่า 1.656 เป๊ะ
หากไม่เป็นไปตามนี้แสดงการทำงานของ compensator ผิดปกติ

เท่าที่เห็นไม่ค่อยมีการทดสอบว่า มันยังทำงานปกติหรือไม่ หยิบเครื่องมือได้ก็ส่องกันเลย

Vichai Yiengveerachon's photo.

เคล็ดลับ GOOGLE EARTH : ภาพประวัติศาสตร์

Google Earth มีฟังก์ชัน ภาพประวัติศาสตร์ (Historical Imagery) ซึ่งมีมาตั้งแต่เวอร์ชัน 5 (ปัจจุบันเวอร์ชัน 6) คือ เมื่อเวลาผ่านไป Google Earth มีภาพพื้นที่เดียวกันตามช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ใหม่ขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น การทำให้ข้อมูลนี้มีประโยชน์ก็คือ การสร้างฟังก์ชันให้ผู้ใช้สามารถเลือกดูภาพสถานที่ในช่วงเวลาต่าง ๆ กันไปได้เท่าที่มีภาพอยู่ สำหรับผู้เขียนนี่เป็นเรื่องน่าสนุกและมีประโยชน์มากเลยทีเดียว ทั้งในแง่การรำลึกอดีต และในแง่การศึกษาความเป็นมาหรือศึกษาการเปลี่ยนแปลง จึงนำมาเขียนแนะนำผู้อ่านให้ได้ทดลองใช้กันครับ

อ่านเพิ่มเติม...

สมาคมการสำรวจและการแผนที่แห่งประเทศไทย
ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

Friday the 17th - 888 poker bonus code